ขอบคุณแหล่งที่มา: https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ถมที่ดิน-เรื่องต้องรู้ก่อน-สร้างบ้าน-11654
การเตรียมพื้นที่ให้เรียบร้อยเพื่อเหมาะกับการสร้างสิ่งงปลูกสร้างมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการถมที่เพื่อนสร้างบ้าน โรงงาน หรือถมที่โครงการหมู่บ้าน ต่างมีความสำคัญทั้งนั้น วันนี้ทางทีมงาน #๙เจริญภูมิ ได้ไปเจอบทความดีๆ จากเว็บไซต์ ddproperty เลยขอนำมาแบ่งปันให้นะครับ
เนื่องจากปัจจุบัน การปลูกบ้าน หรือตั้งโรงงานเองเป็นอีกทางเรื่องหนึ่ง ที่เจ้าของที่ดินส่วนใหญ่เลือกจะทำเอง เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ และเลือกแบบได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ไปกับการก่อสร้าง และตกแต่งได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการถมที่ดิน หรือการปรับพื้นที่นั้นเป็นสิ่งแรกที่ทุกสถานที่จำเป็นต้องทำ และอย่างที่เราทุกคนเข้าใจครับ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หลายๆ เคสนะครับที่ผู้สร้างไม่ทราบเรื่องการถมที่ ทั้งในการเรื่องถม การหาผู้รับเหมา หรือเรื่องกฏหมายมาก่อน เลยทำให้เกิดปัญหาให้เห็นกันบ่อยครั้ง ทีมงาน ๙ เจริญภูมิจึงอยากขอแชร์เนื้อหาดีๆ เพื่อใครที่กำลังคิดจะสร้างบ้าน จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะทำการถมดิน โดยแบ่งตามเนื้องหาล่างนี้
กฎหมายต้องรู้ เกี่ยวกับการถมดิน
การถมที่ดินจึงมีข้อบังคับให้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 จะมีประเด็นหลักที่ต้องดูด้วยกัน 3 ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียหาย และกระทบพื้นที่ข้างเคียง โดยมีรายละเอียดตามแต่ละข้อดังนี้ ( คลิกที่นี่ เพื่ออ่าน พรบ ถมดิน ขุดดิน ฉบับเต็ม)
1. หากเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องทำการขุดดิน
โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล) และทำการขุดตามแบบที่เจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นกำหนด
2. หากพื้นที่ที่ขุดดินมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร
แต่อยู่ใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ เพื่อป้องกันดินทลายลงสู่พื้นที่ข้างเคียง
3. การถมที่ดินสูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียง
หากจะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
ป้องกันปัญหาหลังการถมดิน ด้วยการเช็กประวัติที่ดิน
บางคนมีที่ดินเก็บไว้เป็นเวลานานแล้ว ก็ต้องกลับมาตรวจเช็กที่ดินของตัวเองกันใหม่ก่อนจะถมที่ดินหรือสร้างบ้าน เนื่องจากการเอาที่ดินเก่าเก็บมาสร้างบ้านนั้นจะมีปัจจัยของระยะเวลามาเกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาที่ดินของคุณอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม การพังทลายของดินมาก่อน ดังนั้นก่อนที่จะถมดินก็ต้องมาทำความรู้จักที่ดินของตัวเองใหม่
1. ตรวจสอบประวัติการเกิดอุทกภัย
สิ่งแรกที่ควรจะตรวจสอบเลยก็คือประวัติน้ำถ่วมบนพื้นที่โดยพิจารณาจากก่อนย้อนไปดูข่าวเก่า หรือสอบถามจากคนพื้นที่ เพื่อเช็กระดับสูงสุดที่น้ำเคยท่วมถึง รวมไปถึงเช็กระดับน้ำในท่อระบายน้ำสาธารณะ โดยติดต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ เพื่อจะประมาณการถมดินให้สูงกว่าระดับดังกล่าว เพื่อป้องกันอุทกภัย และให้น้ำระบายออกมาจากพื้นที่ดินในบ้านได้ หรือสามารถเช็คผ่านเว็บไซต์ได้ที่ http://flood.gistda.or.th/
2. เช็กระดับดินพื้นที่ดินบริเวณค้างเขียง และถนนหน้าบ้าน
เพื่อจะได้ทำการถมดินให้สูงกว่า โดยส่วนใหญ่จะมักจะถมให้สูงกว่าถนนหน้าบ้านประมาณ 50-80 ซม. แต่จะอยู่ระดับที่ใกล้เคียงกับที่ดินเพื่อนบ้าน จะไม่นิยมถมที่ดินให้สูงเกินกว่านี้ เนื่องจากพื้นที่ระหว่างที่ดินของบ้านกับถนนสาธารณะจะมีความลาดชันมากเกินไป และอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมที่ดินข้างเคียง โดยเฉพาะที่สำคัญการถมที่ดินสูงกว่า 80 ซม. ก็มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดแรงดันจนรั้วบ้านเสียหายได้
เช็กราคาการถมที่ดินเบื้องต้น
เมื่อรู้ข้อกฎหมายการถมที่ดิน รู้ประวัติที่ดินของตนเอง ทีนี้ก็มาดูค่าใช้จ่ายในการถมที่ดินกัน ซึ่งโดยทั่วไปการถมที่ดินนั้นจะมีราคาไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายๆ อย่าง อาทิ ระยะทางในการขนส่ง ขนาดพื้นที่ สภาพที่ดิน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก
ดังนั้น เจ้าของที่ดินที่อยากจะสร้างบ้านในราคาที่ประหยัด อยู่ในงบประมาณก็ควรเริ่มต้นศึกษาข้อมูลค่าใช้จ่ายตั้งแต่การถมที่ดินเลย เนื่องจากผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะคิดราคาการถมที่ดินไม่เหมือนกัน บางรายคิดเป็นคันรถ บางรายคิดเป็นคิว แต่จะคิดราคาเหมารวมกับค่าบดอัด
ทั้งนี้ เจ้าของที่ดินสามารถเปรียบเทียบและคำนวณหาผู้รับเหมาที่ถูกที่สุดได้โดยการแปลงพื้นที่ดินจากตารางวาให้เป็นตารางเมตร โดยใช้สูตร
ขนาดพื้นที่ดิน (ตารางวา) x 4 = พื้นที่ตารางเมตร
ตัวอย่าง ที่ดิน 50 ตารางวา x 4 = 200 ตารางเมตร
พอได้ผลลัพธ์ที่เป็นขนาดที่ดินแบบตารางเมตรแล้วก็มาคำนวณความสูงของดินที่จะถม โดยนำ
ความสูงในการถมที่ดิน (เมตร) x พื้นที่ตารางเมตร = ปริมาณดินที่ต้องการใช้ (คิว)
ตัวอย่าง ต้องการถมที่ดินสูง 2 เมตร X 200 ตารางเมตร = ดิน 400 คิว
จากนั้นให้เผื่อราคาการบดอัดด้วยการนำ ปริมาณดินที่ต้องการใช้ (คิว) x 30% = 400 x 30% = 400 + 120 = ที่ดินของคุณต้องการใช้ดินสำหรับถมที่ดินประมาณ 520 คิว
จากนั้นก็ลองเอาตัวเลขที่ได้ตรงนี้ไปเปรียบเทียบกับราคาที่ผู้รับเหมาแจ้งมา ระหว่างการคิดราคาเป็นคันรถ (ขึ้นอยู่กับว่ารถบรรทุกดินได้กี่คิว) กับราคาที่คิดเป็นคิว ว่าการคิดราคาแบบไหนจะถูกกว่ากัน
ทีนี้พอรู้วิถีการถมดินในเบื้องต้นแล้ว เมื่อมีการปลูกสร้างบ้านก็จะไม่ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง แถมยังช่วยประหยัดงบในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านอันเป็นปัญหาที่เกิดจากดินทรุดตัวในอนาคตด้วย ดังนั้นก่อนจะสร้างบ้านนอกจากการศึกษาโครงสร้างตัวบ้าน กฎหมายอาคาร เรื่องของที่ดินก็เป็นส่วนสำคัญมากที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการสร้างบ้าน